วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555




จอภาพแบบซีอาร์ที (Cathode Ray Tube: CRT Monitor)
                จอภาพซีอาร์ที  เป็นจอภาพที่รับสัญญาณภาพแบบแอนะล็อก การทำงานจะใช้หลอดแก้วแสดงผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่า หลอดรังสีคาโธด (Cathode ray tube) สร้างภาพด้วยการฉายแสงอิเลคตรอนไปยังด้านหลังของจอภาพ  ซึ่งมีสารฟอสฟอรัสเคลือบอยู่  โดยสารนี้จะส่องสว่างเมื่อถูกแสงอิเลคตรอนตกกระทบ จึงทำให้เกิดภาพ แต่งเนื่องจากสารฟอสฟอรัสไม่สามารถส่องสว่างได้เป็นเวลานาน  จึงจำเป็นต้องมีการฉายแสงใหม่ทุกระยะ ซึ่งเรียกว่าการรีเฟรซ  โดยอัตราการรีเฟรซนั้นหมายถึง ความเร็วในการยิงอิเลคตรอนที่ทำให้เกิดจุดเรีองแสงขึ้นบนจอภาพ  จุดดังกล่าวจะหายไปในเวลาไม่นาน  จึงจำเป็นต้องมีการยิงแสงอิเลคตรอนซ้ำที่จุดเดิมตลอดเวลา  ถ้าอัตราการยิงแสงเชื่องช้า ภาพก็จะกระตุก ส่งผลต่อสายตา  จำเป็นต้องปรับอัตราการรีเฟรซ ให้เหมาะสม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับหลอดภาพโทรทัศน์  และตัวจอภาพก็มีลักษณะเหมือนจอภาพโทรทัศน์  จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าสูงซึ่งมีผลให้เกิดความร้อนเมื่อใช้งานนาน ๆ แต่ข้อดีก็คือ ราคาถูก ไม่มีปัญหาจากการมองบางมุม
             ในยุคแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2524 บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบการแสดงผลที่ใช้กับจอภาพสีเดียวที่เรียกว่าโมโนโครม หรือ เอ็มดีเอ  (Monochrome Display Adapter : MDA) และแสดงผลได้เฉพาะภาวะตัวอักษรแต่เพียงอย่างเดียวแต่ให้ความละเอียดสูง หากต้องการแสดงผลในภาวะกราฟิกก็ต้องเลือกภาวะการแสดงผลอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า ซีจีเอ (Color Graphic Adapter : CGA) ที่สามารถแสดงสีและกราฟิกได้แต่ความละเอียดน้อย
           การเลือกซื้อจอภาพจะตัองพิจารณาความสัมพันธ์ของจอภาพกับตัวปรับต่อซึ่งเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งอยู่บนแผงวงจรหลัก  (main board) และต่อสัญญาณมายังจอภาพ แผงวงจรนี้จะเป็นตัวแสดงผลตามมาตรฐานที่ต้องการ มีภาวะการแสดงผลหลายแบบ เช่น
           1.  แผงวงจรโมโนโครมหรือแผงวงจรเอ็มดีเอ เป็นแผงวงจรที่ไม่ค่อยนิยมใช้แล้วแสดงผลได้เฉพาะตัวอักษรจำนวน 25 บรรทัด บรรทัดละ  80 ตัวอักษร ขนาดความละเอียดของตัวอักษรเป็น 9x14 ชุด
           2.  แผงวงจรเฮอร์คิวลิสหรือแผงวงจรเอชจีเอ แสดงผลเป็นตัวอักษรขนาด 25 บรรทัด บรรทัดละ 80 ตัวอักษร เหมือนแผงวงจรเอ็มดีเอ แต่สามารถแสดงกราฟิกแบบสีเดียวด้วยความละเอียด 720x348 จุด
           3. แผงวงจรอีจีเอ เป็นแผงวงจรที่แสดงด้วยความละเอียดของตัวอักษรขนาด 9x14 จุดแสดงสีได้ 16 สี ความละเอียดของการแสดงกราฟิก  640x350 จุด
           4. แผงวงจรวีจีเอ  เป็นแผงวงจรที่แสดงด้วย ความละเอียดของตัวอักษร 9x16 จุด แสดงสีได้ 16 สี แสดงกราฟิกด้วยความละเอียด 640x480 จุด และแสดงสีได้สูงถึง 256 สี
           5. แผงวงจรเอ็กซ์วีจีเอ  เป็นแผงวงจรที่ปรับปรุงจากแผงวงจรวีจีเอ แสดงกราฟิกด้วยความละเอียดสูงขึ้นเป็น 1,024x768 จุด และแสดงสีได้มากกว่า 256 สี เมื่อได้ทราบว่าตัวปรับต่อมีกี่แบบแล้ว ก็ดูมาตรฐานตัวเชื่อมต่อ (connector) ของตัวปรับต่อกับจอภาพ  ตัวเชื่อมต่อมาตรฐานที่ใช้มีแบบ 9 ขา ตัวเชื่อมต่อสำหรับแผงวงจรแบบ วีจีเอ และ เอสวีจีเอ เป็นแบบ 15 ขา การที่หัวต่อไม่เหมือนกันจึงทำให้ใช้จอภาพร่วมกันไม่ได้ นอกจากตัวเชื่อมต่อและตัวปรับต่อแล้ว คุณภาพของจอภาพก็จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างมาก สัญญาณที่ส่งมายังจอภาพมีรูปแบบ ไม่เหมือนกัน สัญญาณของแผงวงจรแบบวีจีเอเป็นแบบแอนะล็อก สัญญาณของแผงวงจรแบบเอ็มดีเอ ซีจีเอ เอชจีเอ อีจีเอ เป็นแบบดิจิทัล

           ข้อพิจารณาที่ตรวจสอบด้วยตาเปล่าได้ คือ การแสดงผลจะต้องเป็นจุดเล็กละเอียดคมชัด ไม่เป็นภาพพร่าหรือเสมือนปรับโฟกัสไม่ชัดเจน  ภาพที่ได้จะต้องมีลักษณะของการกราดตามแนวตั้งคงที่ สังเกตได้จากขนาดตัวหนังสือแถวบน กับแถวกลางหรือแถวล่างต้องมีขนาดเท่ากันและคมชัด เหมือนกัน ภาพที่ปรากฏจะต้องไม่กระพริบถึงแม้จะปรับความเข้มของแสงเต็มภาพไม่สั่งไหวหรือพลิ้ว การแสดงของสีต้องไม่เพี้ยนจากสีที่ควร จะเป็น พิจารณารายละเอียดทางเทคนิคของจอภาพ เช่น ขนาดของจอภาพซึ่งจะวัดตามแนวเส้นทแยงมุมของจอ ว่าเป็นขนาดกี่นิ้ว โดยทั่วไปจะมีขนาด 14 นิ้ว จอภาพที่แสดงผลงานกราฟิกบางแบบอาจต้องใช้ขนาดใหญ่ถึง 20 นิ้ว ความละเอียดของจุดซึ่งสามารถสังเกตได้จากสัญญาณแถบ ความถี่ของจอภาพ จอภาพแบบวีจีเอควรมีสัญญาณแถบความถี่สูงกว่า 25 เมกะเฮิรตซ์ สัญญาณแถบความถี่ยิ่งสูงยิ่งดี จอภาพแบบเอ็กซ์วีจีเอแสดงผลแบบมัลติซิงค์ (multisync) ใช้สัญญาณแถบความถี่สูงกว่า 60 เมกะเฮิรตซ์ ขนาดของจุดยิ่งเล็กยิ่งมีความคมชัด เช่น ขนาดจุด .28 มิลลิเมตร  ภาพที่ได้จะคมชัดกว่าขนาดจุด .33 มิลลิเมตร   

จอภาพแบบแอลซีดี  (Liquid  Crystal  Display : LCD  Monitor)
ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลว เพื่อปิดกั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำแอลซีดีจึงใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ เหมาะกับภาคแสดงผลที่ใช้กับแบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉายก้อนเล็ก ๆ แอลซีดีในยุคแรกตอบสนองต่อสัญญาณไฟฟ้าช้า จึงเหมาะ กับงานแสดงผลตัวเลขยังไม่เหมาะที่จะนำมาทำเป็นจอภาพ
                เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น  จอภาพแอลซีดีที่แสดงผลเป็นสีต้องใช้เทคโนโลยีสูง มีการสร้างทรานซิสเตอร์  เป็นล้านตัวเพื่อให้ควบคุมจุดสีบนแผ่นฟิล์มบาง ๆ ให้จุดสีเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ การแสดงผลจึงเป็นการแสดงจุดสีเล็ก ๆ ที่ผสมกันเป็นสีต่าง  ๆ ได้มากมาย การวางตัวของจุดสีดำเล็ก ๆ เรียกว่าแมทริกซ์ (matrix) จอภาพแอลซีดีจึงเป็นจอแสดงผลแบบตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่มีจุดสีจำนวนมาก
               จอภาพแอลซีดีเริ่มพัฒนามาจากเทคโนโลยีแบบพาสซีฟแมทริกซ์ที่ใช้เพียงแรงดันไฟฟ้าควบคุมการปิดเปิดแสงให้สะท้อนจุดสีมาเป็นแบบแอกตีฟแมทริกซ์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ตัวเล็ก ๆ เท่าจำนวนจุดสี ควบคุมการปิดเปิดจุดสีเพื่อให้แสงสะท้อนออกมาตามจุดที่ต้องการ ข้อเด่นของ แอกตีฟแมทริกซ์คือมีมุมมองที่กว้างกว่าเดิมมาก การมองด้านข้างก็ยังเห็นภาพอย่างชัดเจน จอภาพแอลซีดีแบบแอกตีฟแมทริกซ์มีแนวโน้มที่เข้า มาแข่งขันกับจอภาพแบบซีอาร์ทีได้ จอภาพแบบแอลซีดีซึ่งมีลักษณะแบนราบจะมีขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที
จอภาพแบบแอกตีฟแมทริกซ์สามารถพัฒนาให้มีขนาดใหญ่กว่า 15 นิ้วได้ การนำมาใช้แทนจอภาพซีอาร์ที ก็จะมีหนทางมากขึ้น ความสำเร็จของจอภาพแอลซีดีที่จะเข้ามาแข่งขันกับจอภาพแบบซีอาร์ที่อยู่ในเงื่อนไขสองประการ คือ จอภาพแอลดีซีมีราคาแพงกว่าจอภาพซีอาร์ที และมีขนาดจำกัด ในอนาคต แนวโน้มด้านราคาของจอภาพแอลซีดีจะลดลงได้อีกมาก และเทคโนโลยีสำหรับอนาคตมีโอกาสเป็นไปได้สูงมากที่จะทำให้จอภาพแอลซีดีขนาดใหญ่
จอภาพแบบ  LED
การเปลี่ยนมาใช้ไปแบ็กไลต์เป็นหลอดแอลอีดี  มีผลดีตามมาหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องของภาพที่มันช่วยเพิ่ม  Contrast  ให้กับภาพที่แสดงผลออกมา  จึงแสดงรายละเอียดต่างๆ  ของภาพได้ดีขึ้น  โดยเฉพาะในฉากที่แสดงผลออกมา  จึงแสดงรายละเอียดต่างๆของภาพให้ดีขึ้น  โดยเฉพาะในฉากที่มีภาพมืดหรือฉากที่มีระดับความสว่างของวัตถุอยู่หลายระดับ  แสดงผลสีดำได้ลึกและดูมีมิติมากขึ้น  ลบข้อด้อยในการแสดงผลสีดำที่ติดตัวจอภาพแอลซีดีมาช้านานนั้นลงไปใกล้เคียงภาพจากจอพลาสมาที่แสดงผลสีดำได้อย่างยอดเยี่ยมเข้าไปทุกที  ช่วยให้แอลซีดีพาแนลสามารถแสดงสีสันได้ดีขึ้น (wider clolor gamut) ทำให้ภาพดูเป็นธรรมาชาติ  นอกจากข้อดีในเรื่องของภาพที่ดีขึ้นแล้วยังได้ในเรื่องของดีไซน์ด้วยเพราะจอภาพมีขนาดบางลง  ความร้อนในขณะจอทำงานลดลงและประหยัดพลังงานมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย  ด้วยข้อดีหลายอย่างที่เกิดขึ้นก็เลยทำให้จอแอลอีดีดูน่าซื้อมาใช้เป็นที่สุด

จอภาพแบบ OLED
       ทำความรู้จักกับ OLED
OLED หรือ Organic Light-Emitting Diodes คือ อุปกรณ์ที่ทำด้วยฟิล์มของวัสดุอินทรีย์กึ่งตัวนำ ที่สามารถเปล่งแสงได้เองเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้า เรียกว่ากระบวนการ Electroluminescence (อิเล็กโทรลูมิเนสเซนซ์) เมื่อนำมาใช้เป็นจอภาพจึงไม่จำเป็นต้องมี Backlight ฉายแสงด้านหลังไปทั่วทั้งจอภาพ อย่างที่ทำกันในจอ LCD หรือ Plasma ซึ่งยังทำให้จุดสีดำใดๆในภาพ ก็จะได้สีที่ดำสนิทมืดมิดจริงๆ เพราะไม่มีแสงสว่างออกมาเลยนั่นเอง ด้วยคุณสมบัติเด่นนี้เองจึงทำให้จอแบบ OLED สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้า และให้ความบางที่มากกว่าจอ LCD ได้.
โครงสร้างและหลักการทำงาน
1. กระแสไฟฟ้าจะไหลจาก Cathode ผ่านชั้นสารอินทรีย์ไปยัง Anode โดย Cathode จะให้กระแสelectrons แก่ชั้น Emissive layer ขณะเดียวกัน2. Anode จะดึง electrons ในชั้น Conductive layer ให้เคลื่อนที่เข้ามา เกิดเป็น electron holes ขึ้น3. ระหว่างชั้น Emissive และ Conductive layer จะเกิดปฏิกิริยา electron (-) เข้าจับคู่กับ hole (+) ขึ้น ซึ่งกระบวนนี้เอง ที่จะเกิดการคายพลังงานส่วนเกินออกมา นั่นก็คือแสงสว่างที่เราต้องการ
สำหรับการให้สีแก่แสงนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของโมเลกุลสารอินทรีย์ในชั้น
Emissive layer ซึ่งในการผลิตจอ Full-color OLEDs จะใช้สารอินทรีย์ 3 ชนิด เพื่อให้ได้แม่สีของแสงคือน้ำเงิน, แดง และเขียว
ส่วนความเข้มและความสว่างของแสงที่ได้ จะขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้าที่ให้เข้าไป ให้มากแสงก็จะสว่างมาก ซึ่งโดยปกติจะใช้กระแสไฟฟ้าที่ประมาณ 3-10 โวลต์
และด้วยความที่ทำจากฟิล์มสารอินทรีย์ที่บางระดับนาโนเมตรนี้เอง เราจึงสามารถประกอบอุปกรณ์
OLED บนวัสดุที่พับงอได้ เช่น พลาสติกใส เกิดเป็นจอภาพแบบยืดหยุ่น (Flexible Display) ได้ขึ้นมา ซึ่งทำให้ในอนาคตเราอาจได้เห็นจอภาพแบบนี้ อยู่บนเสื้อผ้าของเราก็เป็นได้
จุดเด่นของ OLED
- สามารถเปล่งแสงได้ด้วยตัวเอง ทำให้ใช้พลังงานน้อยกว่าจอแบบอื่นๆ
- จอมีความบางกว่า เบากว่า และมีความยืดหยุ่นสูงจนสามารถโค้งงอได้
- ให้ความสว่างมากกว่า เนื่องจากจอทำจากพลาสติกที่มีความบางมาก การผ่านของแสงจึง ดีกว่า
- ง่ายต่อการขยายขนาด เพราะทำจากพลาสติก จึงสามารถสร้างให้มีขนาดใหญ่ได้ และปลอดภัย
จุดด้อยของ
OLED
- อายุการใช้งานของฟิล์มที่ให้กำเนิดสีน้ำเงิน ยังมีอายุการใช้งานสั้นเพียง 1
,000 ชั่วโมง (แต่สำหรับสีแดง และเขียว มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ประมาณ 10,000 ถึง 40,000 ชั่วโมง
- ปัจจุบันขั้นตอนการผลิตยังคงมีราคาสูง เนื่องจากยังไม่สามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เชิงปริมาณได้
- สารอินทรีย์ที่ใช้ทำ
OLED จะเสียหายได้ง่ายเมื่อโดนน้ำหรือออกซิเจน
การใช้งาน OLED ในปัจจุบันและอนาคต
จะเห็นว่า เครื่องเล่นเพลงดิจิตอล
mp3 ในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ OLED เป็นจอภาพกันบ้างแล้ว นอกจากนี้ยังนำมาใช้เป็นจอขนาดเล็กให้กับ โทรศัพท์, PDA, กล้องดิจิตอล ซึ่งมีหลายบริษัทได้ผลิตออกมาจำหน่ายแล้ว เช่น Sony, Kodak. สำหรับจอภาพขนาดใหญ่อย่างโทรทัศน์ หรือจอคอมพิวเตอร์ ก็มีเช่น Sony, Samsung ซึ่งคาดว่าจะเริ่มทำตลาดกันจริงจังในอนาคตอันใกล้นี้
หรือจะเป็นคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ ที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวอักษรหรือภาษาบนหน้าคีย์ได้ตามใจ เพราะแต่ละคีย์กดที่มี 114 ปุ่ม ล้วนทำจาก OLEDs ทั้งสิ้น
จะเห็นว่าการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ
OLED กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ต่อไปเราอาจได้เห็นอุปกรณ์ธรรมดาในวันนี้ กลับไม่ธรรมดาขึ้นมาได้ วันหนึ่งเราอาจหยิบหนังสือพิมพ์จอ OLED ส่วนตัวมาอ่านและดูภาพข่าวล่าสุดได้ทันทีทุกเวลา และที่สำคัญยังพับหรือม้วนเก็บลงในกระเป๋าได้เหมือนเดิม หรือเราอาจจะไม่ได้เห็นหลอดไฟตามเพดานกันอีกต่อไป เมื่อทั้งเพดานกลายเป็นแผง OLED ที่ให้แสงสว่างแทน ที่น่าสนใจในบ้านเราคือ อาจได้เห็นพี่วินมอเตอร์ไซต์ ใส่เสื้อจอโฆษณาเคลื่อนที่ก็เป็นได้
นักวิจัยทั่วโลกกำลังคิดค้นหาวิธีทำให้
OLED มีแสงสว่างสูง มีประสิทธิภาพและอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น โดยการปรับปรุงวัสุดของ OLED และ Substrates และพัฒนาการผลิตให้ถูกขึ้น แต่ใช่ว่าเทคโนโลยีฟังยากเหล่านี้จะวิจัยกันได้เฉพาะต่างประเทศ เพราะความจริงแล้วในประเทศไทยของเราก็มีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้อยู่หลายแห่งด้วยกัน อย่างทางด้านวิศวกรรมโมเลกุลเพื่อเปลี่ยนสีของแสงที่เปล่งออกมานั้น มีการวิจัยกันที่ ศูนย์นาโนศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล หรือด้านการสังเคราะห์โพลิเมอร์เปล่งแสงเพื่อผลิตเป็นอุปกรณ์ OLED นี้ มีทั้งที่ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) , ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (NANOTEC) , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
บทวิเคราะห์
ข้อเปรียบเทียบระหว่างจอ
OLED และจอ LCD
จอ OLED มีขนาดเล็ก มีประสิทธิภาพสูงกว่าจอ LCD และเหมาะสำหรับแสดงภาพ แบบจอแบนจอ OLED สามารถเปล่งแสงในตัว และไม่ต้องใช้ไฟจากด้านหลัง(Back Light) ซึ่งจอLCD ต้องใช้ ไฟจาก ด้านหลัง (Back Light)
จอ OLED จึงมีขนาดเล็กกว่าจอ LCD
จอ OLED ใช้พลังงานน้อยกว่าจอ LCD
จอ OLED มีน้ำหนักน้อยจอ LCD
จอ OLED ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าจอ LCD
เนื่องจากจอ OLED เปล่งแสงจากภายใน จึงสามารถมองภาพได้จอ ทุกมุม(165 องศา) แต่ภาพในจอ LCD จะจางหายเมื่อ อยู่ในที่สว่างจอ OLED สามารถแสดงภาพแบบ Real Time ซึ่งจอ LCD จะมีปัญหาในแสดงภาพแบบ Real Time
จอ OLED สามารถปรับแสงสว่างและ Contrast ได้ดีกว่าจอ LCD
จอ OLED สามารถม้วนได้ และ แสดงภาพบนเนื้อผ้าได้
ในปัจจุบันนี้ จอภาพแสดงผลของกล้องถ่ายรูปดิจิตอล (รวมไปถึงอุปกรณ์อื่นๆ ด้วย) ต่างก็เป็นชนิด LCD ซึ่งมีการแสดงผลในระดับที่เรียกว่ายอดเยี่ยมและสะดวกสบาย แต่มันก็ยังคงมีปัญหาอีกอย่างหนึ่งของมันที่เป็นอุปสรรคชิ้นใหญ่สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ทั้งหลาย นั่นคือเรื่องของการใช้พลังงาน ซึ่ง LCD จัดเป็นหนึ่งในชิ้นส่วนที่บริโภคพลังงานสูงเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งก็ส่งผลให้อุปกรณ์ชิ้นนั้นๆ สามารถใช้งานได้น้อยลง เพราะพลังงานจากแบตเตอรี่หมด
ปัญหาที่ว่านี้ท้าทายนักวิจัยและผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่เป็นอย่างมาก ซึ่งต่างก็สรรหาวิธีเพื่อจะลดการใช้พลังงานในอุปกรณ์ของตนลง หรือเพื่อให้แบตเตอรี่สามารถจ่ายพลังงานได้ยาวนานขึ้นนั่นเอง ไม่เพียงแต่เฉพาะกล้องถ่ายรูปเท่านั้น ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้
LCD ด้วย เช่น โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, PDA, TV ฯลฯ ต่างก็หาวิธีที่จะมาแก้ทางและขจัดจุดอ่อนให้ได้ ในที่สุด ตัวตายตัวแทนที่จะมาทำหน้าที่ก็คือ OLED ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาพลิกโฉมระบบการแสดงผลของโลกใบนี้
OLED สามารถแสดงผลได้ในลักษณะบิดงอซึ่งทำให้การผลิตและออกแบบมีความยืดหยุ่นได้อีก นอกจากนั้นมันยังใช้ในลักษณะของจอภาพแบบโปร่งแสงได้ด้วย แถมยังมีต้นทุนการผลิตต่ำอีกต่างหาก แบบนี้กระจกรถหรือกระจกบ้านที่มีการแสดงข้อมูลได้แบบที่เราเห็นในภาพยนตร์แนวไซไฟทั้งหลายก็คงจะได้เห็นกันในอีกไม่นานเกินรอ (ข้อดีของ OLED ที่มีมากมายเหลือคณานับเช่นนี้ มีหรือที่บรรดาผู้ผลิตกล้องถ่ายภาพจะไม่สนใจ) ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี OLED ก็คือความบางระดับ "เฉียบ" ของมัน ซึ่งจากข้อมูลทางเทคนิคแล้ว มันยังสามารถผลิตออกมาได้บางกว่ากระดาษเสียอีก นั่นย่อมหมายความว่ากระดาษอิเล็กทรอนิกส์ก็เป็นเรื่องที่ไม่นานเกินรอเช่นกัน ดังจะเห็นได้จาก OLED TV ตัวแรกของ Sony ในรุ่น XEL-1 ที่ทำเอาความบางของ LCD TV ตกขอบไปเลย บรรดาผู้ผลิตกล้องต่างๆ ก็ออกมาขานรับเทคโนโลยีนี้และพัฒนาต่อยอดให้กับผลิตภัณฑ์ของตนอย่างขนานใหญ่ และคาดว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในเทคโนโลยีของ OLED จะทยอยออกสู่ตลาดในเวลาไม่นานนักนับจากนี้ไป และไม่เพียงเครื่องมือที่ใช้ตามบ้านเท่านั้น มันยังรวมไปถึงป้ายโฆษณา, ด้านการจราจร, การบิน และอีกมากมายที่จะตามมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น